Nearby Attractions
ตลาดไนท์บาซาร์พิษณุโลก
ตั้งอยู่บริเวณริมถนนติดลำน้ำน่านฝั่งตะวันออก เริ่มตั้งแต่ตีนสะพานเอกาทศรถ มีสินค้าหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นข้าวของเครื่องใช้ อาหาร บริการนวด ร้านจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล มีประชาชนในระแวก และนักท่องเที่ยวทั่วไป นิยมมานั่งรับประทานอาหารพร้อมชมบรรยากาศริมแม่น้ำน้ำ ตลาดจะคึกคักประมาณช่วงเวลา 19.00 น. ถึง 23.00 น.
การเดินทาง
มาตามถนนเรียบริมแม่น้ำน่านฝั่งตะวันออก ตรงซอยวัดราชบูรณะ ขับเข้ามาประมาณ 1 กม. จะพบสะพานเอกาทศรถ ซึ่งเป็นที่ตั้งของตลาดไนท์บาซาร์
พระพุทธชินราช
เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดใหญ่ หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ ขนาดหน้าตักกว้าง 5 ศอก 1 คืบ 5 นิ้ว และสูง 7 ศอก ได้รับการกล่าวขานว่าเป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะงดงามที่สุดในประเทศ เส้นรอบนอกพระวรกายอ่อนช้อย พระขนงโก่ง พระเกตุมาลาเป็นเปลวเพลิง พระหัตถ์มีปลายนิ้วทั้งสี่เสมอกัน
ซึ่งเป็นลักษณะพิเศษเรียกว่า ทีฒงฺคุลี ซุ้มเรือนแก้วทำด้วยไม้แกะสลักสร้างในสมัยอยุธยา แกะสลักเป็นรูปมกร (ลำตัวคล้ายมังกร มีงวงคล้ายช้าง) อยู่ตรงปลายซุ้ม และตัวเหรา (คล้ายจระเข้) อยู่ตรงกลาง และมีเทพ อสุราคอยปกป้ององค์พระอยู่ 2 องค์ พระมหาธรรมราชาที่ 1 (พญาลิไท) แห่งกรุงสุโขทัย โปรดให้สร้างขึ้นพร้อมกับพระพุทธชินสีห์และพระศรีศาสดา
บานประตูประดับมุก
ที่ทางเข้าพระวิหารด้านหน้า สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2299 เป็นฝีมือช่างหลวงสมัยอยุธยาตอนปลาย ในรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ตรงกลางประตูมีสันอกเลาประดับลวดลายพุ่มข้าวบิณฑ์ สองข้างเป็นลายกนกก้านแย่ง ช่วงกลางอกเลามีรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน เรียกว่า “นมอกเลา” เป็นรูปบุษบก มีรูปพระอุณาโลมซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของพระพุทธองค์ประดิษฐานบนบัลลังก์อยู่ในบุษบก สองข้างเป็นรูปชุมสายซึ่งเป็นเครื่องสูงชนิดหนึ่ง เป็นรูปฉัตรสามชั้น ใต้ฐานบุษบกมีหนุมานแบกฐานไว้
ส่วนเชิงล่างของอกเลาทำเป็นรูปกุมภัณฑ์ยืนถือกระบองท่าสำแดงฤทธิ์ ส่วนลวดลายบานประตูเป็นลายกนกที่มีภาพสัตว์หิมพานต์ เช่น ราชสีห์ คชสีห์ เหมราช ครุฑ กินรีรำ และภาพสัตว์อื่น ๆ และยังมีลาย “อีแปะ” ด้านละ 9 วงมัดนกหูช้างประกอบช่องไฟระหว่างวงกลม หรือวงกลมเป็นลายกรุยเชิง มีลายประจำยามก้ามปูประดับขอบรอบบานประตู เดิมบานประตูวิหารพระพุทธชินราชทำด้วยไม้สักแกะสลัก เมื่อทำบานประตูประดับมุกเสร็จแล้ว บานประตูเก่าได้นำไปประดับประตูวิหารพระแท่นศิลาอาสน์ จังหวัดอุตรดิตถ์
พระเหลือ
พระยาลิไทรับสั่งให้ช่างนำเศษทองสัมฤทธิ์ที่เหลือจากการสร้างพระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดา มารวมกันหล่อพระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดเล็ก และพระสาวกยืนอีก 2 องค์ ส่วนอิฐที่ก่อเตาสำหรับหลอมทองได้นำมารวมกันบนฐานชุกชี พร้อมกับปลูกต้นมหาโพธิ์ 3 ต้นบนชุกชี เรียกว่า โพธิ์สามเส้า ระหว่างต้นโพธิ์ได้สร้างวิหารน้อยขึ้นหนึ่งหลัง อัญเชิญพระเหลือกับพระสาวกไปประดิษฐาน เรียกว่า “วิหารพระเหลือ”
วิหารพระเจ้าเข้านิพพาน (วิหารแกลบ หรือ วิหารหลวงสามพี่น้อง)
ตั้งอยู่ทางด้านใต้ของพระวิหารพระศรีศาสดาราม ภายในวิหารมีพระพุทธรูปนั่งขนาดใหญ่ บริเวณกลางพระวิหารมีหีบปางพระเจ้าเข้านิพพาน มีลักษณะเป็นหีบบรรจุพระบรมศพทำด้วยศิลา ประดับด้วยลวดลายลงรักปิดกระจกสวยงาม โดยข้อพระบาทเลยออกมาเล็กน้อย ตั้งบนแท่นอันสลักลวดลายงดงาม รอบแท่นมีปัญจวัคคีย์ กำลังแสดงความทุกข์อาลัยพระองค์ ซึ่งนับได้ว่าเป็นโบราณวัตถุชิ้นสำคัญของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร
พระอัฏฐารส
เป็นพระพุทธรูปยืนปางห้ามญาติด้านหลังพระวิหาร สูง 18 ศอก สร้างในสมัยเดียวกับพระพุทธชินราช ราว พ.ศ. 1800 เดิมประดิษฐานอยู่ในวิหารใหญ่แต่วิหารได้พังไปจนหมด เหลือเพียงเสาที่ก่อด้วยศิลาแลงขนาดใหญ่ 3-4 ต้น เรียกว่า “เนินวิหารเก้าห้อง” อยู่ด้านหลังวิหารพระพุทธชินราช พระปรางค์ประธาน ศิลปสมัยอยุธยาตอนต้น ฐานเหลี่ยมย่อมุมไม้ยี่สิบ เดิมเป็นเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์แบบสุโขทัยแท้ ต่อมาถูกแปลงให้เป็นพระปรางค์ในสมัยอยุธยา
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระพุทธชินราช ในวัดเปิดวันพุธ-วันอาทิตย์ เวลา 9.00-16.00 น. ปิดวันจันทร์ วันอังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์
ข้อควรปฎิบัติ ควรแต่งกายสุภาพ ผู้หญิงไม่ควรนุ่งสั้นและใส่เสื้อแขนกุด ภายในวิหารมีคนค่อนข้างมาก ห้ามยืนถ่ายรูปโดยเด็ดขาด สามารถนั่งถ่ายได้
การเข้าชม
เวลาทำการ : ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 6.30- 18.00 น.
ช่วงเวลาเที่ยว : ตลอดทั้งปี
ค่าเข้าชม
ไม่มีค่าเข้าชม
ที่ตั้ง – ติดต่อวัดต้นเกว๋น
ที่อยู่ :
92/3 ถ.พุทธบูชาต.ในเมือง เมืองพิษณุโลก พิษณุโลก 65000
เบอร์โทรศัพท์ : 055-251649 , 055-258966
อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
ครอบคลุมพื้นที่โบราณสถานกรุงสุโขทัย ศูนย์กลางการปกครองของอาณาจักรสุโขทัยซึ่งมีอำนาจอยู่บริเวณภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทยในช่วงพุทธศตวรรษที่ 18 - 19 ตั้งอยู่ที่ตำบลเมืองเก่า (เขตเทศบาลตำบลเมืองเก่า) อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย ห่างจากตัวเมืองสุโขทัยปัจจุบัน (เขตเทศบาลเมืองสุโขทัยธานี) ไปทางทิศตะวันตกประมาณ 12 กิโลเมตร ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 (ถนนจรดวิถีถ่อง)
ผังเมืองสุโขทัยมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีความยาวประมาณ 2 กิโลเมตร กว้างประมาณ 1.6 กิโลเมตร มีประตูเมืองอยู่ตรงกลางกำแพงเมืองแต่ละด้าน ภายในยังเหลือร่องรอยพระราชวังและวัดอีก 26 แห่ง วัดที่ใหญ่ที่สุดคือวัดมหาธาตุ อุทยานแห่งนี้ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์โดยกรมศิลปากรด้วยความช่วยเหลือจากองค์การยูเนสโก มีผู้เยี่ยมชมหลายแสนคนต่อปี ซึ่งสามารถเดินเท้าหรือขี่จักรยานเที่ยวชมได้
อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยได้รับการประกาศคุ้มครองครั้งแรกตามประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 92 ตอนที่ 112 ลงวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2504 ต่อมาในปี พ.ศ. 2519 โครงการฟื้นฟูอุทยานแห่งนี้ก็ได้รับการอนุมัติ และเปิดอย่างเป็นทางการในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2531 โดยในวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2534[ต้องการอ้างอิง] องค์การยูเนสโกได้ประกาศให้อุทยานแห่งนี้เป็นแหล่งมรดกโลกร่วมกับอุทยานประวัติศาสตร์ที่กำแพงเพชรและศรีสัชนาลัยภายใต้ชื่อว่า "เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร" (Historic Town of Sukhothai and Associated Historic Towns)
อุทยานแห่งชาติเขาค้อ
จัดตั้งอย่างไม่เป็นทางการเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2538 อยู่ในพื้นที่ของจังหวัดเพชรบูรณ์ บริเวณเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าเขาโปลกหล่น ซึ่งเดิมนั้นเป็นวนอุทยานน้ำตกธารทิพย์ เดิมมีเนื้อที่ประมาณ 14 ตารางกิโลเมตร หรือ 8,750 ไร่
ลักษณะภูมิประเทศ
มีลักษณะเป็นภูเขาทอดยาวตามแนวทิศเหนือไปทิศใต้ ตอนบนสุดเป็นภูเขาสูงชัน มีความสูง จากระดับน้ำทะเลปานกลาง ตั้งแต่ 155 เมตร จนถึง จุดสูงสุด 1,593 เมตร และเนื่องจากภูเขาในแถบนี้เป็นภูเขาที่การจากการยกตัวในอดีตทำให้มีลักษณะเป็นภูเขาหินทรายยอดราบ หรือมีที่ราบอยู่บานยอดเขา เช่น แหล่งท่องเที่ยวของเพชรบูรณ์ “ภูทับเบิก” เป็นภูสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 1,786 เมตร และบริเวณตอนใต้ของพื้นที่สำรวจในเขตอำเภอเขาค้อ และอำเภอเมืองเพชรบูรณ์ (บริเวณเขาย่า) จะมีลักษณะเป็นสันเขายาวลาดลงทางทิศเหนือ – ตะวันตก แต่บริเวณเชิงเขาค้อ ในเขตอำเภอหล่มเก่า อำเภอหล่มสัก อำเภอเขาค้อ (ทางส่วนตะวันตก) จะเป็นหน้าผาสลับซับซ้อน อันเนื่องมาจากการกัดเซาะ เพราะบริเวณขอบเขานั้น เป็นหินทรายที่ยังจับตัวกันไม่แน่น ทำให้ง่ายต่อการกัดเซา
เขาค้อเป็นแหล่งกำเนิดของแม่น้ำลำธาร มากมายหลายสายซึ่งทางด้านทิศตะวันออก จะไหลลงสู่แม่น้ำป่าสัก ส่วนทางด้านทิศตะวันตกจะไหลลงสู่ แม่น้ำยม และแม่น้ำน่าน
ลักษณะภูมิอากาศ
ฤดูหนาว ประมาณเดือนพฤศจิกายน-กลางเดือนกุมภาพันธ์ อุณหภูมิค่อนข้างหนาวเย็น ฤดูร้อน ประมาณกลางเดือนกุมภาพันธ์-กลางเดือนพฤษภาคม มีอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 21.93 องศาเซลเซียส อากาศค่อนข้างร้อนช่วงกลางวัน ฤดูฝน ประมาณกลางเดือนพฤษภาคม-เดือนตุลาคม ปริมาณน้ำฝนค่อนข้างสูง ถึงประมาณ 1,425.75 มิลิเมตรต่อปี มีฝนตกปีละ 126 วัน จะมีฝนตกชุก 70% ของทั้งปี